7 เทคนิค เลือกลงทุนคอนโดให้อยู่เย็นเป็นสุข (ตอนที่ 1) Mastery Resolution - บริษัทเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ครบวงจร

NEWS & ARTICLES

27 May 2020 2975 VIEWS

7 เทคนิค เลือกลงทุนคอนโดให้อยู่เย็นเป็นสุข (ตอนที่ 1)


POSTED BY Mastery Resolution

7 เทคนิค เลือกลงทุนคอนโดให้อยู่เย็นเป็นสุข

การซื้อคอนโดมิเนียม 1ห้อง ก็เปรียบเสมือนการซื้อบ้าน 1 หลังเลยทีเดียว เนื่องจากเมื่อตัดสินใจซื้อแล้ว เราต้องอยู่กับห้องของเราไปอีกนาน บางคนอาจทั้งชีวิตก็เป็นได้ ดังนั้นการเลือกห้องที่อยู่สบาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยในวันนี้ทางผมจะมาแนะนำวิธีดูคอนโด เพื่อให้อยู่แล้วอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ได้บอกไว้ตามหัวเรื่องเลยครับ มาดูกันเลย........

1. ทิศของห้อง

ทิศของแดด - ทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ทั้ง 4 ทิศนี้ล้วนแต่มีข้อดี ข้อเสียต่างกันออกไป

 

ทิศใต้ ซึ่งข้อดีที่หลายท่านที่ซื้อห้องหันไปทางทิศใต้ได้รับนั่นก็คือ ลมพัดเย็นสบาย เนื่องจากทิศนี้เป็นทิศที่รับลม และไม่โดนแสงแดดโดยตรงนัก อาจโดนแดดบ้างในช่วงบ่าย จึงทำให้ห้องค่อนข้างเย็นตามธรรมชาติ

ทิศเหนือ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบให้ห้องอยู่ในร่มเงาตลอดเวลา เนื่องจากแสงแดดจะไม่ส่องเข้าห้องทางทิศเหนือ ดังนั้นหากต้องใช้เวลาอยู่ในห้องค่อนข้างมากในหนึ่งวัน ห้องทางทิศเหนือก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่มีข้อเสียที่ตามมาจากการที่แสงแดดส่องไม่ถึงตัวห้อง นั่นก็คือ ผ้าที่ตากไว้อาจแห้งช้า เนื่องจากลมก็ไม่ค่อยมีอีกด้วย รวมไปถึงไม่เหมาะกับผู้ที่ชอบปลูกต้นไม้ที่ต้องการแดดจัด

ทิศตะวันออก เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับคนที่ต้องการตื่นเช้า เนื่องจากแสงแดดอ่อนๆยามเช้าจะช่วยปลุกเราให้ลุกจากเตียงได้อย่างดี ในทางกลับกันก็เป็นข้อเสียกับผู้ที่ต้องการนอนตื่นสายๆ หรือในเช้าวันหยุดที่ต้องการพักผ่อน แต่ก็อาจแก้ไขได้โดยการติดฟิลม์กันแสง หรือติดผ้าม่าน 2ชั้น

ทิศตะวันตก เป็นทิศที่คนส่วนมากไม่นิยมเลือกในการซื้อห้อง เพราะแสงแดดที่ส่องเข้ามาในห้องยามบ่ายนั้นเป็นแดดที่จะทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้นมาก ส่งผลทำให้ห้องค่อนข้างร้อน เนื่องจากแดดช่วงบ่ายนั้นจะแรงกว่าแดดในช่วงเช้า แต่ก็สามารถใช้เครื่องปรับอากาศและผ้าม่านกันแสงUVหรือติดฟิลม์กรองแสงช่วยได้

ทิศทางของลม

กระแสลมในแต่ละประเทศจะต่างกันไป ไม่เหมือนกับแสงแดด ในบ้านเราจะมีกระแสลมหลัก ๆ เพียงแค่ 2 ช่วงเท่านั้น คือ

- ลมฤดูร้อน (พฤษภาคม-ตุลาคม) ลมนี้จะพัดมาจากทางทิศใต้

- ลมฤดูหนาว (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) ลมนี้จะพัดมาจากทางทิศเหนือ

ลมทั้งคู่จะไม่ได้พัดมาตรง ๆ แต่เยื้องไปทางตะวันออกและตะวันตกในมุมองศาที่่ต่างกัน ฉะนั้นนอกจากจะเลือกทิสของแดด แล้วยังต้องดูทิศของลมด้วยเช่นครับ แต่ถ้าหลายๆคนเคยไปเลือก ซื้อห้อง หรือ เช่าห้อง คอนโด จะพบว่า ทำเลดีดีแบบนี้ส่วนใหญ่จะโดนซื้อไปหมดแล้ว หรือไม่ก็ ห้องเหล่านี้ก็จะมีราคาที่สูงครับ แน่นอนหล่ะครับ ของดี ย่อมเป็นที่ต้องการของตลาด

 

2. ตำแหน่งของชั้น

ควรเลือกห้องที่ไม่ต่ำจนเกินไปเนื่องจาก หากอยู่ต่ำจนเกินไปมีข้อเสีย เช่น พื้นห้องมีความชื้นขึ้นราเสียงดัง ทั้งคน ทั้งรถวิ่งผ่านไปมาพลุกพล่าน อีกทั้งพวกแมลง สัตว์มีพิษ ยุงเยอะอีกด้วย บางแห่งอาจเกิดน้ำท่วมได้อีกด้วย

ควรเลือกห้องที่ไม่สูงจนเกินไป ห้องสูงข้อดีตรงวิวสวย ลมดี อากาศถ่ายเท แต่ก็อาจมีปัญหาบางอย่าง เช่น ห้องชั้นบนสุดของอาคาร มักจะมีปัญหาน้ำรั่วซึมลงมาหรือกรณี เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ลิฟต์เสีย แผ่นดินไหว ทำให้เราต้องวิ่งลงมาหลายชั้นเหนื่อยและอันตรายอยู่เหมือนกัน อีกอย่างชั้นสูงมักสัญญาณโทรศัพท์ไม่ดีอีกด้วย

ห้องควรอยู่สูงกว่าตึกรอบๆ ไม่มีตึกมาบังวิว เพื่อทัศนียภาพ และความเป็นส่วนตัว ไม่รู้สึกอึดอัด

ชั้นที่นิยมกันได้แก่ ชั้น 5, 8, 9 ความรุ่งเรืองเจริญก้าวหน้า ชั้นที่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมเลือกคือ ชั้น 13 คอนโดมักเปลี่ยนเป็นชั้น 12A

 

3. ติดฟิลม์กันความร้อนที่กระจก

จะเลือกฟิล์มลดความร้อนที่ให้ประสิทธิภาพการลดความร้อนในคอนโดได้ดี ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความร้อนที่มากับแสงแดดกันก่อน ในแสงแดดที่เรารู้จักกัน ประกอบด้วย 3 ส่วนรวมกัน คือ แสงสว่าง รังสีอินฟาเรด และรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)  

แสงสว่าง เป็นส่วนที่ให้ความสว่าง ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ และทำให้เกิดการสะสมความร้อนได้ เวลาที่แสงสว่างมากเกินไป ก็จะทำให้แสงจ้าจนเรามองไม่เห็นได้ 

รังสีอินฟาเรด รังสีอินฟาเรดคือ องค์ประกอบหลักของแสงแดดที่เป็นตัวทำให้เกิดความร้อน ทำให้รู้สึกร้อนแสบผิวเวลาที่โดนแดดนานๆ

รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในแสงแดดไม่ช่วยให้เรามองเห็น ไม่ทำให้เราร้อน แต่เป็นรังสีที่ทุกคนเลี่ยงเพราะเป็นตัวที่ทำให้เราเกิด กระ ฝ้า ผิวคล้ำ มีริ้วรอย หรือเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ถ้าแสง UV ส่องที่จุดไหนในคอนโดนานๆ ผนัง เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน จะสีซีดหรือเปลี่ยนสี ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์หนังหรือพลาสติกจะกรอบ แตก หรือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะอายุการใช้งานสั้นลง

 

3.1 ฟิล์มลดความร้อน (ฟิล์มกรองแสง) แบบย้อมสี 

ช่วยปรับความสว่างในคอนโดให้น้อยลง เหมาะสำหรับห้องที่มีบานประตูหน้าต่างรับแสงโดยตรง ทำให้แสงส่องเข้ามาในห้องมากจนเกินไป แต่ทั้งนี้ฟิล์มชนิดนี้ก็จะไม่ช่วยลดความร้อนในคอนโด โดยจะให้แสงแดดให้น้อยลงแต่จะช่วยลดแสงที่สาดเข้ามาภายในห้องมากจนเกินไปมากกว่า 

3.2 ฟิล์มลดความร้อน (ฟิล์มกรองแสง) วิธีลดความร้อนในคอนโด

ฟิล์มชนิดนี้เป็นฟิล์มที่เคลือบโลหะ ซึ่งทำหน้าที่ได้ทั้งลดความร้อนในคอนโดและลดแสงที่ผ่านเข้ามาในห้องจากกระจกให้น้อยลง จะทำให้สภาพภายในห้องไม่ร้อนและไม่สว่างจนเกินไป สีของฟิล์มกระจกนั้นจะแตกต่างกันตามโลหะที่ใช้เคลือบกระจก

ชั้นของฟิล์มลดความร้อนมี 4 ชั้นด้วยกัน ฟิล์มบางรุ่นของบางยี่ห้อบอกว่ามีชั้นต่างๆ ถึง 200 กว่าชั้นในขณะที่ตัวฟิล์มมีแผ่นบางเท่าแผ่นกระดาษ มาดูว่า ฟิล์มลดความร้อนในคอนโด มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

• ส่วนที่เป็น liner เป็นส่วนที่ปิดผนึกชั้นกาวเอาไว้ ลักษณะเหมือนกระดาษแปะหลังสติกเกอร์ เมื่อไรที่จะติดฟิล์มกับกระจกถึงจะลอกออก

• ส่วนที่เป็นกาว จะเป็นส่วนที่ยึดระหว่างกระจกกับชั้นฟิล์มเอาไว้ด้วยกัน ถ้าเป็นฟิล์มเกรดดีๆ นอกจากจะแรงยึดเกาะสูงแล้ว ทนความร้อนได้ดี ไม่ละลายเยิ้มและถ้าเป็นฟิล์มคุณภาพสูงที่ผ่านมาตรฐานจาทางยุโรปก็จะระบุว่าใช้กาว low VOC หรือ กาวปลอดสารพิษด้วย กาวในฟิลม์บางรุ่นก็จะมีคุณสมบัติยึดกระจกให้ติดกันไม่แตกกระจาย

• ส่วนที่เป็นชั้นฟิล์ม ชั้นนี้เป็นพระเอกของงานก็ว่าได้ บางยี่ห้อจะมีชั้นฟิล์มมากกว่า 1 ชั้น เช่นชั้นฟิล์มสี ที่ช่วยลดปริมาณแสงที่เข้ามา ชั้นเคลือบโลหะที่ป้องกัน ลด และสะท้อนความร้อนออกไป ชั้นนาโนเซรามิค หรืออะไรก็แล้วแต่

• ส่วนที่เป็นสารเคลือบแข็ง ป้องกันเนื้อฟิล์มไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน ที่นอกจากจะทำให้ไม่สวยงามแล้ว ยังไปทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อน ลดแสงจ้าลดลง

อย่าพึ่งเข้าใจว่า"ฟิล์มกรองแสง"ที่มีความทึบจะช่วยลดความร้อนได้ เพราะบางชนิดดังที่กล่าวไปข้างต้นมีหน้าที่เพียงช่วยลดความแรงของแสงที่ส่องเข้ามาให้น้อยลง แต่ระดับความร้อนยังคงสามารถเข้ามาได้เท่าเดิม ดังนั้นทางที่ดีก่อนเลือกซื้อควรเลือกให้คุ้มค่ากับการใช้งานมากที่สุด คือมีความสามารถทั้งกรองแสง ความร้อนและรังสียูวีให้เข้ามาในบ้านได้น้อยลง แต่สิ่งเหล่านี้ก็จะตามมาด้วยราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง แต่ถ้ามันคุ้มกับการใช้งานในระยะยาวและเพื่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยด้วยแล้วก็เหมาะที่จะติดตั้ง

 

4.ขนาดเครื่องปรับแอากาศ

ทำไม? ต้องเลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง..

- BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป เนื่องด้วยสามารถทำความเย็นได้เร็วเกิน ทำให้ประสิทธิ์ภาพในการทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สบายตัวและที่สำคัญราคาแพงและสิ้นเปลื้องพลังงาน

- BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ผู้ใช้มักจะเลือกอุณหภูมิต่ำ เมื่อเลือกต่ำแล้วยังรู้สึกไม่เย็น ก็จะลดต่ำลงอีก ทำให้สิ้นเปลื้องพลังงานและเครื่องเสียเร็ว

BTU ย่อมาจาก British Thermal Unit นั่นคือ ขนาดของการทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งหน่วยวัดจะมีผลต่อขนาดน้ำหนัก โดย 1 ตัน สามารถทำความเย็นได้ 12000 BTU/hr. มีให้เลือกซื้อกันตั้งแต่ขนาด 9,000 BTU

วิธีการเลือกซื้ออันดับแรก คุณต้องรู้ขนาดของห้องก่อน และสำรวจดูว่า ห้องของคุณมีแดดเข้ามาได้หรือไม่ เพราะหากห้องที่มีแสงแดดสาดส่องได้ง่าย ความสามารถในการทำความเย็น ก็จะถูกลดลงไป หากโดนแดดมากเกินไป อาจแก้ไขปัญหาส่วนนี้ก่อน เช่น การติดผ้าม่าน ติดกระจกฟิล์ม หรืออื่น ๆ คราวนี้ก็เลือกตามสัดส่วนขนาดของห้อง โดยปกติแล้ว BTU จะนำมาคำนวณร่วมกับอุณหภูมิความร้อนเฉลี่ยต่อชั่วโมง หากเป็นอุณหภูมิห้องทั่วไปไม่ร้อนมาก ค่าความร้อนประมาณ 700 BTU แต่หากแดดส่องเยอะ ทำให้ความร้อนสูงขึ้น อาจนำค่าความร้อนที่ 900 BTU มาคำนวณ

ตัวอย่างเช่น ห้องนอนปกติ ขนาด 20 ตร.ม. แดดไม่ส่อง คำนวณโดย

ขนาดห้อง x ค่าความร้อน = 20 x 700 ควรเลือกเครื่องปรับอากาศ ขนาด 14,000 BTU 

คลายร้อน บ้านเย็น บ้านดี

MASTERY RESOLUTION COPYRIGHT 2019