21 Apr 2020 | 1375 VIEWS |
ทำไมค่าไฟฟ้าถึงแพงขึ้น ? มาดูคำตอบแบบเปิดใจกันหน่อย
สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน ในเดือนนี้หลายคนเห็นบิลค่าไฟแล้วคงต้องตกตะลึงกันเลยทีเดียว กับตัวเลขที่มากกว่าเดิม บางคนถึงกับประหลาดใจว่าทำไมถึงสูงขึ้นได้ขนาดนี้ แต่ก็มีบางคนที่สุงขึ้นเพียงเล็กน้อย (อย่างบ้านผมเป็นต้นครับ)
ทีนี้เรามาดูกันครับว่า ค่าไฟที่สุงขึ้นในเดือนนี้ มันถุกต้องหรือว่า มั่วนิ่มกันแน่ครับ
1. การไฟฟ้า คิดเงินแบบอัตราก้าวหน้ามาตลอด ใช้เยอะจ่ายเยอะ (ผู้ใช้ไฟสามารถดูรายละเอียด ตามอัตราค่าไฟฟ้าด้านล่าง)
2. ตัวแปรของค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น คือ หน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น พูดง่าย ๆ ก็ คือ ถ้าใช้ไฟฟ้ามากขึ้นก็จะทำให้ราคามันก้าวกระโดด
หลายคนคงสงสัย ทำไมหน่วยการใช้ไฟฟ้าถึงขึ้นได้มากขนาดนี้ ?
ไฟฟ้ามาทำอะไรกับมิเตอร์รึเปล่า ?
คำตอบ คือ ไฟฟ้าไม่มีใครไปทำอะไรกับมิเตอร์ลูกค้าหรอกครับ
ทีนี้เราต้องมาดูพฤติกรรมของคนในบ้านกันครับที่บอกว่าใช้ไฟเท่าเดิม แต่ทำไมค่าไฟแพง
ลองคิดตามดูนะครับ
เปิดแอร์ เวลาเดิมทุกวัน 8.00 - 12.00 ความเย็นเท่าเดิมจริง แต่ตัวที่ทำให้มิเตอร์ขึ้นหน่วยไวแค่ไหน อยู่ที่คอมเพลสเซอร์ข้างนอก ถ้าอากาศข้างนอกร้อนแค่ไหน หน่วยการใช้ไฟก็ขึ้นไวเท่านั้นเพราะคอมเพลสเซอร์คุณทำงานหนัก ยิ่งถ้าเปิดแอร์พร้อมกันนะ เสียงคอมดังนานแค่ไหนนั่นแหละคือ ทำใจไว้เลย มิเตอร์กำลังหมุนอย่างแรง และ นั่นคือ เงินที่คุณต้องจ่ายไป
เครื่องฟอกอากาศ แทบทุกยี่ห้อกินไฟ ลองตรวจสอบดูนะที่บอกประหยัดไฟคือไม่ประหยัดเลย ยิ่งเปิดพร้อมแอร์ คูณกำลัง 2 ไปเลย
ตู้เย็น เห็นตั้งนิ่ง ๆ แบบนั้น กินไฟเราแบบเงียบ ๆ นะค่ะ หน้าที่ของตู้เย็นคือต้องทำความเย็นในช่องแช่อาหาร ตามอุณภูมิที่เรากำหนด เช่น เราตั้งไว้ที่ 1 องศา หลักการทำงานคือ ต้องทำยังไงก็ได้ให้ 1 องศาตลอดเวลา นั่นก็ คอมเพลสเซอร์หลังตู้เย็นไงที่เป็นตัวทำงาน
- เปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เปลืองไฟจริง เพราะตู้เย็นสูญเสียอุณภูมิตอนเปิด
- แช่ของแบบไม่คิด ยัด ๆ เข้าไปก็เปลืองไฟจริง ต้องจัดระเบียบตู้เย็นกันบ้าง
บ้านที่มีปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าส่วนมาก จะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้
1. แอร์ พร้อม คอมเพลสเซอร์
2. เครื่องฟอกอากาศ
3. พัดลมไอน้ำ
4. ตู้เย็น ยิ่งอัดของเยอะ คอมเพลสเซอร์ตู้เย็นที่ดังตลอดเวลานั่นแหละคือ กำลังกินไฟคุณ
ตู้เย็นที่ประหยัดไฟคือตู้เย็นที่แช่แค่เครื่องดื่มไม่เกิน 5 ขวดเท่านั้น ถึงจะได้จ่ายราคาต่อปีตามที่ร้านโฆษณา
สรุปคือ ไฟฟ้าไม่ได้ปรับ หรือ ทำอะไรทั้งนั้น
ไม่ได้ฉวยโอกาสอะไรทั้งนั้น
ไฟฟ้าการรันตีราคาให้แบบนี้
- ใช้ไปหน่วยที่ 0- 150 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 3.2484 บาท
- ใช้ไปหน่วยที่ 151 - 400 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 4.2218 บาท
- ใช้ไปหน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายราคาหน่วยนะ 4.4217 บาท
ยกตัวอย่างการคำนวณแบบคร่าวๆ
ตัวอย่างที่ 1
ใช้ไฟฟ้าไป 200 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
50 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 211.09 บาท
รวมเป็นเงิน = 698.35 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 2
ใช้ไฟฟ้าไป 400 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 1,055.45 บาท
รวมเป็นเงิน = 1,542.41 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 3
ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
200 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 884.34 บาท
รวมเป็นเงิน = 2,427.05 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
ตัวอย่างที่ 4
ใช้ไฟฟ้าไป 1,000 หน่วย เราจะคิดค่าไฟแบบนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
600 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 2,653.02 บาท
รวมเป็นเงิน = 4,195.73 บาท
(ราคายังไม่รวม vat 7 % , ค่าบริการ , หักส่วนลดค่า FT)
พอจะเห็นภาพชัดเจนกันขึ้นไหมครับ ว่าทำไมค่าไฟถึงได้สูงขึ้น ฉะนั้นเพื่อไม่ให้ค่าไฟสูง เดือนนี้เรามาลดการใช้ไฟกันนะครับ เช่น
งดดูซีรี่ยืช่วงนี้ และหันไปปลุกต้นไม้กันครับ ที่บ้านจะได้เย็นๆครับ
No comments right now. You can be the first comment on this topic!
03 Apr 2022
15 May 2022
22 May 2022